5 ของมงคลญี่ปุ่น ที่ควรซื้อต้อนรับปีใหม่
ญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่มีประเพณีและอารยธรรมเด่นเป็นเอกลักษณ์ ถ้าเราไปเที่ยวญี่ปุ่นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือของฝากจากญี่ปุ่น แต่ถ้าจะเลือกซื้อของฝากที่เป็นสิ่งมงคลหรือมีความหมายดีๆ นั้นจะเลือกอะไรกันดี ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูของมงคลญี่ปุ่นว่าจะมีอะไรบ้างไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
1. Kadomatsu
คะโดะมัตสุ ถือเป็นสิ่งของมงคลที่ควรมีไว้ติดบ้าน ทำมาจากไม้ไผ่และกิ่งสน ซึ่งบริเวณที่นำไปวางไว้จะเป็นหน้าสองฝั่งประตูเข้าบ้าน หรือจะเป็นอาคารสำนักงานก็ได้เหมือนกัน ที่ญี่ปุ่นมีความเชื่อกันว่าการมีคุโดะมัตสุติดไว้เป้นการต้อนรับเทพเจ้าที่จะนำพาเอาความสุขสงบและความโชคดีมาสู่โลก โดยส่วนมากมักจะให้กันในช่วงปีใหม่
2. Fukubukuro
ฟุกุบุคุโระ หรือก็คือถุงนำโชคนั่นเองค่ะ โดยที่ภายในถุงนั้นจะมีสิ่งของมีค่าอยู่ ซึ่งคนซื้อจะไม่รู้เลยว่าภายในถุงนั้นมีอะไรอยู่บ้าง โดยปกติแล้วที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีการจำหน่ายเจ้าถุงนำโชคนี้กันวันที่ 2 หรือ 3
ของเดือนมกราคม เพราะถือเอาวันนี้เป็นวันเปิดร้านต่างๆ ต้นปีใหม่นั่นเอง
3. Nengajo
เน็นงะโจ เป็นการ์ดอวยพรธรรมดาของญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่จะใช้เขียนคำอวรพรก่อนขึ้นปีใหม่แล้วส่งให้กับผู้ใหญ่ หรือญาติพี่น้อง โดยสิ่งที่เป็นของมงคลญี่ปุ่นพิเศษคือ ทางไปรษณีย์จะรีบจัดส่งการ์ดเน็นงะโจให้ถึงปลายทางก่อนวันที่ 1 มกราคม และยิ่งไปกว่านั้นบนการ์ดเน็นงะโจแต่ละใบก็จะมีตัวเลขติดอยู่เพื่อที่ว่า ใครๆ ก็มีสิทธ์ถูกรางวัลพิเศษในปีใหม่นี้ค่ะ ได้ความสุขสองต่อเลยทีเดียว
4.Otoshidama
โอโตะชิดามะ คือเงินใส่ซองปีใหม่ค่ะ คล้ายๆ กับอั่งเปาของชาวจีนโดยส่วนมากก็จะเป็นเด็กๆ ที่มักจะได้โอโตะชิมาดะกันค่ะ โดยความเชื่อของชาวญี่ปุ่นก็คือ เป็นการตอบแทนความดีของเด็กๆ ที่ได้กระทำในปีนี้ แล้วหวังว่าปีหน้า หรือปีต่อๆ ไปจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ อีก
5. Osechi-Ryori
โอะเซะชิ-เรียวริ เป็นอาหารของชาวญี่ปุ่นที่ทำกินกันในช่วงเทศกาลปีใหม่ค่ะ โดยมีความเชื่อกันว่า ถ้าได้ทำอาหารกินกันในช่วงนี้จะเป็นการนำโชคลาภและความสุขกายสุขใจมาให้แก่ครอบครัวค่ะ โดยลักษณะของอาหารนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ แต่จะใส่ในภาชนะที่เป็นกล่อง (นึกถึงเบ็นโตะ) ที่มีขนาดแตกต่างกันออกไปตามแต่คนทำค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับของมงคลญี่ปุ่นที่จะนำมาไว้ในบ้านเอง หรือจะนำไปเป็นของฝากให้ผู้หลักผู้ใหญ่หรือคนที่เราเคารพรักก็ได้เช่นกัน ไว้ครั้งต่อไปจะมีเรื่องราวท่องเที่ยวญี่ปุ่นปุ่นด้วยตัวเองอีกนั้นต้องคอยติดตามกันนะคะ สำหรับวันนี้บ๊ายบาย...
ขอบคุณภาพประกอบจาก google.com
0 ความคิดเห็น: